เมนู

อรรถกถานิคคหะที่ 3


ครั้นยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์ให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ
ยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละให้พิสดาร โดยนัยอื่นอีกมีโอกาส
นัยเป็นต้น ท่านจึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ อีกเป็นต้น.
ในนิคคหะที่ 3 นี้ คำถามเป็นของสกวาที. คำตอบรับรองเป็นของ
ปราวที. คำซักถามหมายเอาสรีระในคำว่า ในที่ทั้งปวง อีกเป็น
ของสกวาที. คำปฏิเสธเป็นของปรวาทีเพราะเห็นข้อบกพร่องในการ
พิจารณาเห็นตนในรูปด้วย ข้อบกพร่องที่จะประสบว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง
สรีระก็อย่างหนึ่งด้วย ดังนี้คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบในอนุโลม-
ปัจจนิกปัญจกะ โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในที่นี้
ท่านย่อพระบาลีไว้.
คำที่ท่านกล่าวไว้ในนิคคหะที่ 6 นั้นว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล
ในที่ทั้งปวง ดังนี้ ท่านหมายเอาสรีระ บุคคลนั้นย่อมหยั่งเห็นได้ภาย-
นอกจากสรีระย่อมไม่ถูก เหตุใด เพราะเหตุนั้นในปัจจนิก สกวาทีจึง
ปฏิเสธ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งวาทะอันมีเลศนัยน่า
ท่านรับรองคำแรกแล้วภายหลังย่อมดูหมิ่น ดังนี้. คำที่เหลือปรากฏ
ชัดแล้วนั่นแล.
อรรถกถานิคคหะที่ 3 จบ

นิคคหะที่ 4


[12] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-
ปรมัตถะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น
ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่
พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ
ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง
โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย
สัจฉิกัตถปมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า
หยั่งเป็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง
เห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.
นิคคหะที่ 4 จบ